วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีฝึกโคจรลมปราณแบบต่างๆ (๗ วิธี)

วิธีฝึกโคจรลมปราณแบบต่างๆ (๗ วิธี)


วิธีฝึกโคจรลมปราณ

การฝึกลมปราณไม่ใช่การจดจำท่าแล้วทำตามแต่ภายนอกเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุด จิตของผู้ฝึกต้องมีการฝึกด้วย จิตต้องเป็นส่วนที่ควบคุมลมปราณ แล้วให้ลมปราณนำทางร่างกายไป จิตเฝ้าระวังมีสติประคองตลอด ปรับสภาวะของตนตามธรรมชาติ รักษาสมดุลธรรมชาติในตน แล้วคู่ปะทะที่ขาดการดูแลสมดุลธรรมชาติ จะถึงแก่การพ่ายแพ้เอง การฝึกลมปราณที่ดี เมื่อได้ปลุกลมปราณแล้ว ทะลวงลมปราณแล้ว ขั้นต่อไปคือการฝึกโคจรลมปราณ ควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพราะการโคจรลมปราณ ช่วยชำระล้างภายในร่างกายของเราให้บริสุทธิ์ สุขภาพของผู้ฝึกจะดีขึ้นมาก การฝึกโคจรลมปราณ มักใช้ควบคู่กับท่าร่ายรำต่างๆ อย่างสอดคล้องต่อเนื่องกลมกลืนดุจการร่ายรำ มีวิธีฝึกดังนี้

พื้นฐานก่อนเข้าสู่การฝึกโคจรลมปราณ

กำลังภายใน
เป็นพลังชีวิตอยู่ภายในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ในทางวิทยาศาสตร์สามารถตรวจวัดได้ด้วยการวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในร่างกายมนุษย์ และสามารถถ่ายและแปลงค่าความถี่ออกมาในรูปภาพได้ ที่เรียกว่า ออร่า (Aura) หรือพลังชีวิต หรือพลังคลื่นแม่เหล็กของสิ่งมีชีวิตก็ได้ พลังเหล่านี้ เป็นสิ่งธรรมดาของร่างกาย ที่ร่างกายมนุษย์จะเผาผลาญอาหารแล้วเกิดพลังงานขึ้น หรือมีกระแสประสาทสื่อสารภายในร่างกายขึ้น หรือมีระบบพลังงานในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งอยู่อย่างไม่ใช่แบบสุ่ม แต่มีระบบอย่างสมดุล มีรูปแบบที่สามารถอธิบายได้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถคาดการณ์และพยากรณ์ได้ว่าร่างกายมีสภาวะอย่างไร โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของออร่าและสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่สถิติ พลังเหล่านี้ควบคุมสมดุลต่างๆ ในร่างกาย สัมพันธ์กับการทำงานของร่างกายทั้งในเชิง สารเคมีและในเชิงชีวภาพ ทำให้สามารถฝึกเพื่อควรคุมและปรับสภาวะร่างกายได้

กำลังภายนอก
เป็นพลังชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์และสัตว์ อุปมาเหมือนน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิตย่อมระเหยออกสู่ภายนอก และน้ำภายนอกนั้น ก็มีประโยชน์ต่อภายในของสิ่งมีชีวิต พลังชีวิตภายนอกสิ่งมีชีวิตนี้ สิ่งมีชีวิตสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้ โดยหาได้จากแหล่งต่างๆ และนำมาใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน พลังชีวิตภายนอกร่างกายก็ได้มาจากร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ก็จะเกิดการรั่วไหลของพลังชีวิต หรือแม้แต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็มีการระบายถ่ายเทพลังงานชีวิตนี้ระหว่างร่างกายและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องจากร่างกายเป็นระบบเปิด ไม่ได้ปิดแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้แต่อย่างใด พลังภายนอกมีมากมาย เมื่อสัตว์เกิดขึ้นมาบนโลกเป็นเซลอ่อนๆ อยู่ ก็อาศัยพลังเหล่านี้ในการหล่อเลี้ยงตัวเอง และเมื่อเติบโตขึ้นมาก็อาศัยพลังงานเหล่านี้ในการเติบโตเช่นกัน ตราบจนกระทั่งตายลงก็จะคืนพลังเหล่านี้สู่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้เป็นพลังงานสากลกำเนิดชีวิตต่างๆ ต่อไป พลังภายนอกมีทั้งที่เป็นผลดีต่อร่างกาย และทั้งที่เป็นผลลบ ไม่ใช่แปลว่าพลังทุกอย่างจะดีต่อสิ่งมีชีวิตไปหมดก็หาไม่ จำต้องทำการศึกษาให้เข้าใจและแยกแยะเลือกรับเอาเฉพาะพลังงานด้านดี ด้านบวก เป็นสำคัญ หากฝึกผิดทางจะเข้าทางมาร ที่เรียกว่า วิชชามาร

ตัวอย่างแหล่งพลังชีวิตภายนอกร่างกายประเภทต่างๆ
๑)    ลมปราณ ฟ้า-ดิน       คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากฟ้าและดิน
๒)    ลมปราณ หยิน-หยาง  คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากหญิงและชาย
๓)    ลมปราณ อิม-เอี๊ยง    คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากการตายและการเกิด
๔)   ลมปราณ จักรวาล      คือ ลมปราณภายนอกร่างกาย จากจักรวาลทุกชนิด
๕)   ลมปราณ อาทิตย์-จันทร์ คือ ลมปราณจากดวงอาทิตย์ยามเช้า, จันทร์เต็มดวง
๖)    ลมปราณ อื่นๆ          เช่น ลมปราณจากต้นไม้, ลมปราณจากไฟ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างลมปราณภายในและภายนอก
การฝึกลมปราณจะเริ่มจากกำลังภายในก่อน จากนั้นจึงทะลวงลมปราณจากภายในออกภายนอก แล้วจึงประสานลมปราณภายนอกและในเป็นหนึ่งเดียวกัน หลอมรวมเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือขั้นสูงสุดของการฝึกลมปราณ ซึ่งจะต้องเปิดจิตเปิดใจ เปิดทวารร่างกาย ในการเปิดรับและถ่ายออก หมุนเวียนลมปราณภายในและภายนอกเพื่อปรับให้ร่างกายให้สมดุล ซึ่งการฝึกมีหลายขั้น จำต้องศึกษาให้ถูกต้องเป็นขั้นๆ ไป

แหล่งกำลังภายในจากจักระทั้งเจ็ด (แหล่งสะสมพลังวัตร)

จักระทั้งเจ็ด เป็นแหล่งพลังวัตรที่สำคัญในร่างกาย และแหล่งสะสมพลังวัตรต่างๆ ดังนี้

๑)    จักระที่หนึ่ง (บริเวณก้นกบ) เป็นแหล่งพลังกุณฑาริณี จะตื่นเมื่อกรณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น ตกใจสุดขีด, มีเพศสัมพันธ์ถึงสุดยอด, หนาวถึงที่สุด ฯลฯ เป็นพลังที่มีปริมาณมาก และเกิดขึ้นชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช่พลังต่อเนื่องระยะยาวนัก
๒)    จักระที่สอง (บริเวณท้องน้อย) เป็นแหล่งพลังสำคัญ แบบเส้าหลินมักฝึกกัน ปลุกให้ตื่นได้ง่ายกว่า เก็บง่าย และใช้ได้บ่อย ต่อเนื่อง แต่พลังจะไม่พุ่งทะยานในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณมากๆ แบบกุณฑาริณี ใช้ในการต่อสู้ส่งพลังทางขามาก
๓)    จักระที่สาม (บริเวณใต้ลิ้นปี่) เป็นแหล่งพลังสำคัญ ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการต่อสู้ อยู่ศูนย์กลางกาย สำหรับผู้ฝึกธรรมกาย จะใช้ในการสะสมพลังวัตร ที่เรียกว่าลูกแก้วธรรมกาย จนพร้อมเต็มที่ก็จะได้เป็น ธรรมกาย อยู่ในจักระนี้
๔)   จักระที่สี่ (บริเวณหัวใจ) เป็นแหล่งพลังสำคัญ ใช้ในการต่อสู้ ส่งพลังทางแขนมาก สอดคล้องกับชีพจรทั่วร่าง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจ
๕)   จักระที่ห้า (บริเวณลูกกระเดือก) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่มักไม่ได้ใช้ในการต่อสู้ ยกเว้นในกลุ่มที่ต่อสู้ด้วยเสียงจะใช้มาก นักร้องจะใช้พลังจากจักระนี้ด้วย ร่วมกับพลังจากจักระที่สอง (ท้องน้อย) เพื่อให้เสียงมีพลังกึกก้องกังวาน
๖)    จักระที่หก (บริเวณตาที่สาม) เป็นแหล่งพลังงานสำคัญใช้ในการต่อสู้ เนื่องจากควบคุมการรับรู้และสติปัญญา เป็นทางเปิดตาทิพย์ เพื่อการรับรู้ที่เหนือปกติ
๗)   จักระที่เจ็ด (บริเวณกระหม่อม) เป็นแหล่งรับพลังงานจากภายนอก เรียกว่าพลังจักรวาล หรือองค์เทพที่จะประทับทรง หรือมอบพลังให้ จะส่งผ่านมาทางจักระนี้

ตานเถียน จักระที่รวมแห่งพลังวัตรที่นิยมใช้ในการต่อสู้ (ผู้ฝึกกำลังภายใน)

๑)    ตานเถียนบน คือ จักระที่ ๖ หรือตรงตำแหน่งตาที่สาม เวลาเราหลับตาแล้วยังไม่หลับไป เราเพ่งภาพขณะหลับตาอยู่ จะเสมือนมีตาเดียวตรงกลางดูภาพนั้นอยู่ หรือให้จินตนาการว่ามีลูกตาทั้งสองเปิดอยู่ตามปกติ แล้วเพ่งมารวมตรงกลางเป็นตาเดียว นั่นคือ ตำแหน่งของตานเถียนบน เป็นศูนย์กลางบริเวณหัว

๒)    ตานเถียนกลาง คือ จักระที่ ๔ หรือตรงตำแหน่งหัวใจ เวลาหลับตาไม่ได้ลืมตามองกระจก หรือไม่ได้เอามือคลำดู จะกะประมาณตำแหน่งไม่ถูก ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น ตุ้บๆ เป็นตำแหน่งของหัวใจ เวลากำหนดจิต สามารถใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นจังหวะในการเคลื่อนลมปราณได้ เป็นศูนย์รวมพลังวัตรร่างกายท่อนบน และแขนทั้งสองข้างเป็นสำคัญ จักระนี้ ฝึกเพ่งเสียงชีพจรได้ผลดี

๓)    ตานเถียนล่าง คือ จักระที่ ๒ หรือตรงตำแหน่งท้องน้อย เวลาหลับตาไม่ได้ใช้มือคลำและดูกระจก กะระยะไม่ได้ ให้นั่งสมาธิหย่อนลำตัวท่อนบนลงมาหน่อย ท้องน้อยจะป่องขึ้นเล็กน้อย กะเอาบริเวณศูนย์กลางที่ท้องป่องเป็นตานเถียน (หากไม่มีทิพยจักษุ มองไม่เห็นอวัยวะในร่างกาย จึงต้องจับความรู้สึกแทน)

การปลุกพลังวัตรในตานเถียนให้เป็นลมปราณไหลเวียน

๑)    นั่งสมาธิเพชรจะดี (หากทำไม่ได้ ให้ขัดสมาธิธรรมดาก็ได้) หลับตา ผ่อนคลายร่างกาย จิตใจทั่วร่าง ให้รู้สึกเบาสบาย ไม่อึดอัด โล่งโปร่ง สงบระงับ ละเอียดนิ่ง
๒)    หายใจเข้า รวมจิตสู่ศูนย์กลางตานเถียน บน, กลาง หรือล่าง จุดใดจุดหนึ่งที่ต้องการปลุกพลังวัตรให้เคลื่อนไหวเป็นลมปราณ จากนั้นค่อยๆ จับความรู้สึกถึงลมปราณที่เคลื่อนตัวจากตานเถียนนั้นๆ ไปยังจุดต่างๆ ตามการโคจรแบบต่างๆ
๓)    หายใจออก ขับเคลื่อนลมปราณออกจากตานเถียนนั้นๆ ไปตามเส้นทางการโคจรลมปราณแบบต่างๆ ตรวจดูแต่ละจุดในร่างกายด้วยความรู้สึกว่าตรงไหนติดขัด หากมีจุดที่ติดขัด ก็ใช้ลมปราณทะลวงจนลมปราณไหลเวียนผ่านได้สะดวก
๔)   โคจรลมปราณเป็นวงจร ให้ครบรอบ จากตานเถียนที่สะสมพลังวัตร กลับยังตานเถียนที่สะสมพลังวัตรเดิม ไม่ควรทำขาดวงจร หรือไม่ครบรอบ จนรู้สึกสบาย
๕)   เส้นทางโคจรลมปราณของแต่ละแบบแตกต่างกันไป ซึ่งจะแสดงรายละเอียดบางแบบต่อไป การโคจรลมปราณระยะแรก ควรสอดคล้องกับลมหายใจเข้าออกก่อน
๖)    หากมีการปลุกลมปราณจากแหล่งไหนมา ควรเคลื่อนลมปราณให้ครบวงจรแล้วเก็บเข้าที่ ที่แหล่งนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลมปราณตกค้างในอวัยวะต่างๆ

ในบางกรณีจะมีเคล็ดการหายใจเพื่อเคลื่อนลมปราณ แตกต่างจากนี้เล็กน้อยเช่น หายใจเข้าโคจรลมปราณครึ่งรอบ ไปไว้ตานเถียนบน จากนั้นหายใจออกขับจากตานเถียนบนมาล่าง แบบนี้ก็ได้เช่นกัน เมื่อชำนาญแต่ละแบบแล้วจะสามารถเลือกใช้ได้ตามเหมาะสม

การโคจรลมปราณแบบต่างๆ

๑) โคจรลมปราณพลังกุณฑาริณี (จักระหนึ่ง จักระเจ็ด)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่หนึ่ง นั่งสมาธิแล้วปลุกลมปราณด้วยวิธีลับเฉพาะแบบกุณฑาริณี (ยังไม่ขอเผยแพร่ทางนี้) แล้วเคลื่อนลมปราณผ่านทุกจักระไล่ขึ้นไปสู่จักระที่เจ็ด ทะลวงทุกจักระที่มีลมปราณติดค้างหรือติดขัดให้โปร่งโล่งสบายทั่วร่าง

จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ปกติมักทำได้ไม่มากครั้ง พลังก็จะลดลงจนสัมผัสไม่ได้ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และเป็นพื้นฐานในการทะลวงชีพจรของกังฟู ข้อควรระวัง กุณฑาริณีที่ตื่นแล้วแต่ทะลวงออกจักระเจ็ดไม่ได้ จะดันศีรษะเหมือนงูไชหัว ทำให้ปวดหัวอย่างหนักคล้ายจะเป็นบ้า เหมือนคนกำลังจะประสาทเสียได้ ให้พึงระวังด้วย

๒) โคจรลมปราณพลังจักรวาล (จักระเจ็ด - จักระหก จักระหนึ่ง)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่หนึ่ง นั่งสมาธิแล้วปลุกลมปราณจากจักระที่หนึ่งออกไปสู่จักระที่เจ็ด แล้วดึงจากจักระที่เจ็ดลงไปอาบทั่วร่าง จากจักระเจ็ดลงไปหนึ่ง หมุนเวียนให้ครบวงจร การโคจรพลังจักรวาล จำต้องผ่านการเดินลมปราณกุณฑาริณีให้ได้ก่อน เมื่อได้กุณฑาริณีแล้ว จึงอาศัยจังหวะที่ระบายกุณฑาริณีออก เพื่อเปิดรับพลังจักรวาลเข้ามาแทน แล้วควบคุมปราณจากจักรวาลให้อาบลงทั่วร่าง เรียกว่า อาบน้ำทิพย์ บางท่านจะใช้หลักพลังพีรามิดมาช่วยในการฝึกลมปราณจักรวาล ด้วยการใช้พีรามิดวางไว้รอบตัวตามจุดต่างๆ กัน เพื่อเหนี่ยวนำพลังปราณจักรวาลเข้ามาขณะทำสมาธิ แล้วให้ปราณจักรวาลเข้าทางจักระเจ็ด ถ่ายลงอาบไปทั่วร่าง (แบบนี้ขอไม่แสดงรายละเอียด)

จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ทำหลายๆ ครั้ง จนรู้สึกเบาสบายกายใจ กระชุ่มกระชวยดี การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และเป็นพื้นฐานการรับถ่ายพลังภายนอก ข้อควรระวังในการเปิดรับพลังจักรวาล คือ ต้องเลือกรับพลังเฉพาะที่ดีต่อร่างกาย เป็นพลังด้านบวกไม่ใช่พลังด้านลบ จิตผู้ฝึกพึงระวังให้มีแต่กุศลแต่ส่วนเดียว เพื่อป้องกันพลังด้านลบ

๓) โคจรลมปราณธรรมจักร (ได้ทุกจักระ โดยเฉพาะเจ็ด)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระใดจักระหนึ่งก็ได้ โดยปกติแล้วให้เริ่มฝึกจากจักระเจ็ด แล้วค่อยๆ หมุนลงไปยังจักระอื่นๆ ต่อไป หรือบางท่านจะเริ่มจากจักระหก ไปเจ็ด แล้วลงหนึ่ง เวลาฝึกให้ระลึกว่ามีอะไรบางอย่างหมุนวนรอบศูนย์กลางจักระนั้นๆ ให้ระลึกเป็นภาพเหมือนจักรจริงๆ ก็ได้ โดยหมุนเวียนขวาเท่านั้น (ซ้ายไปหน้า ขวาไปหลัง) ในการหมุนจักรสามารถใช้ท่า กวนสมุทร โดยเอาจุดศูนย์กลางคือท้องน้อยเป็นหลักได้

การนับวงจรเมื่อครบหนึ่งรอบนับ ๑ วงจร ทำจนรู้สึกสบายในแต่ละจักระ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่สุขภาพร่างกาย ในจักระที่โคจรลมปราณ ซึ่งแต่ละจักระจะทำหน้าที่ดูแลร่างกายแตกต่างกันไป ข้อควรระวัง อย่าเดินลมปราณทวนทิศ ห้ามหมุนซ้าย

๔) โคจรลมปราณจักรวาลน้อยแบบเต๋า (ตานเถียนล่าง - ตานเถียนบน)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่ตานเถียนล่าง เดินลมปราณไปสู่จักระหนึ่งทางด้านหน้า แล้ววนไปด้านหลัง จากจักระหนึ่ง ไปสอง ไปสาม ไปสี่ ไปห้า ไปหก ไปเจ็ด แล้ววนกลับมาด้านหน้าจากจักระเจ็ด ไปหก ไปห้า ไปสี่ ไปสาม ไปสอง ครบหนึ่งรอบ

จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ จากตานเถียนล่าง (จักระสอง) ในวงจรเดิม การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่สุขภาพร่างกาย ทั่วทุกระบบโดยรวม ข้อควรระวัง อย่าเดินลมปราณทวนทิศ เพราะจะเกิดผลร้ายต่อชีวิตร่างกายได้อย่างคาดไม่ถึง มีอาการที่ตรวจแล้วไม่รู้โรคได้

๕) โคจรลมปราณพลังสิงโตคำราม (ตานเถียนล่าง จักระห้า - จักระเจ็ด)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่ตานเถียนล่าง หายใจเข้าสั้นๆ แล้วผ่อนหายใจยาวๆ ไปสู่จักระห้า (กล่องเสียง) แล้วออกเป็นเสียง โอม ยาวๆ ให้คำว่า โอม เหมือนออกจากจักระที่เจ็ด แผ่ออกไร้ประมาณ เกิดคลื่นเสียงทั่วกระหม่อม สร้างพลังความสั่นสะเทือนให้มากที่สุด จนกระทั่งทุกสิ่งด้านหน้าสั่นตามคลื่นเสียงของเรา นับเป็นหนึ่งรอบโคจร

จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ลองเปลี่ยนเป็นว่า อา หรือ ไล่เสียงตามตัวโน๊ตก็ได้ การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีในแง่พลังเสียง เหมาะสำหรับผู้ต้องใช้เสียงต่างๆ ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้พลังมากเกินไป เพราะจะทำลายกล่องเสียงได้ ควรฝึกในระดับที่พอดีในแต่ละครั้ง

๖) โคจรลมปราณฟ้าดิน หยินหยาง (ฝ่ามือสองข้าง - จักระสี่)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่สี่ (หัวใจ) ยกฝ่ามือขึ้นขนานพื้น ฝ่ามือหงายขึ้นไว้ระดับหน้าอก หายใจเข้ารวมปราณที่ฝ่ามือและหัวใจ หายใจออกแผ่ปราณออกทางฝ่ามือสองข้าง พร้อมดันฝ่ามือข้างหนึ่งขึ้นบน ข้างหนึ่งลงล่าง สลับกันไปมา เมื่อยืดฝ่ามือไปสุดแล้ว ปลายนิ้วทั้งสิบจะพุ่งชี้ฟ้ากับชี้ลงดิน จังหวะหายใจเข้าให้ดึงลมปราณฟ้าและดิน (บนและล่าง) เข้ามารวมที่หัวใจ แล้วหมุนสลับดันลมปราณออก พร้อมสลับมือซ้ายขวา ดังนั้น จะมีวงจรพลังฟ้าดินสองวงจร คือ วงจรฝ่ามือซ้ายและขวา คือ เมื่อขวาขึ้นบนดึงด้านบน ขวาลงล่างปล่อยลงล่าง ซ้ายลงล่างดึงด้านล่าง ซ้ายขึ้นบนปล่อยขึ้นบน เวลาดึงลมปราณฟ้าดิน ดึงเข้ามาพร้อมกันทั้งสองฝ่ามือ มารวมตรงกลาง แล้วเวลาปล่อยก็ปล่อยพร้อมกันสองฝ่ามือ ออกจากกลางกายไปไกลสุดแสนไกลไร้ประมาณ

จากนั้น จึงเริ่มวงจรใหม่ ปกติมักทำได้ไม่ครั้ง ก็จะรู้สึกลมระบาย (ผายลม) ได้ทันที การเดินลมปราณนี้ ให้ผลดีทั้งในแง่สุขภาพ และในด้านการถ่ายปราณเข้าออกของกังฟู

๗) โคจรลมปราณเก้าอิม เก้าเอี๊ยง (กงเล็บกระดูกขาว)
ให้กำหนดจิตรวมศูนย์ที่จักระที่สี่ (หัวใจ) ยกฝ่ามือขึ้นกางออกขนานพื้น กางกงเล็บออก ท่านี้ผู้หญิงสามารถฝึกเก้าอิมได้ แต่ผู้ชายให้ฝึกเก้าเอี๊ยง ในที่นี้จะเผยแพร่เฉพาะเก้าเอี๊ยง โดยก่อนโคจรพลังเก้าอี๊ยงให้โคจรพลังฟ้า-ดินก่อน เพื่อปรับสภาพและกระตุ้น หยินหยาง เราจะใช้พลังเก้าอิม สร้างเก้าเอี๊ยง โดยดูดพลังอิมเข้าทางกงเล็บ จนรู้สึกแขนเยือกเย็นแข็งทื่อ (จะรู้สึกปวดท่อนแขนนิดหน่อย เหมือนมีอะไรมาอัดแน่น) จากนั้น โคจรพลังเก้าอิมไม่นาน ผู้ชายจะเกิดพลังเก้าเอี๊ยงขึ้นเองโดยธรรมชาติ จะรู้สึกอุ่นๆ ที่กลางลำตัว เช่น ท้องน้อย แล้วจะกระชุ่มกระชวย ร่างกายจะเริ่มอบอุ่นหายหนาว ไม่หนาวไม่ร้อน เมื่อโคจรพลังด้วยการคว้าจับดึงดูดพลังเก้าอิมจากพื้นดินรอบตัวได้มาก เก้าเอี๊ยงก็ถูกกระตุ้นออกมามาก เมื่อพอสมควรแล้ว ให้ถ่ายเก้าอิมออกจากแขนสองข้างให้หมด จึงจะรู้สึกเบาแขน และหายปวดแขน เวลาถ่ายออกให้รำฝ่ามือแทน เพราะกงเล็บจะมีพลังดึงดูด ไม่ใช่พลังผลักดันออก โดยเพ่งกระแสปราณออกทางนิ้วทั้งสิบ

ให้ทดลองใช้กงเล็บกระดูกขาว ดูดพลังเอี๊ยงจากฟ้าในช่วงท้องฟ้ามืดครึ้มเหมือนฝนจะตก หากฝึกช่วงฟ้าแลบฟ้าร้องด้วยจะดี ด้วยการฝึกคล้ายเดิม แต่เปลี่ยนเป็นการดูดปราณจากฟ้า แทนที่จะดูดปราณจากดิน โดยเพ่งระลึกไปที่ประจุไฟฟ้าบนฟ้าแทน ข้อควรระวังในการฝึกเก้าอิม คือ ช่วงแรกกระดูกฝ่ามือจะมีอาการแปลกๆ และอาจกระทบต่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ชายจึงไม่ควรฝึกเก้าอิม ให้ฝึกเฉพาะเก้าเอี๊ยงเท่านั้น

การฝึกร่ายรำไทเก๊กแบบต่างๆ

๑)   รำผ้าไหมไทเก๊ก
ผู้ฝึกจะใช้ผ้าที่มีความพลิ้วไหวและมีน้ำหนักพอเหมาะ ในการร่ายรำโดยใช้ ผ้า เพื่อเป็นเครื่องแสดงสภาวธรรม ความเปลี่ยนแปลงในผ้า เพื่อปรับท่าร่ายรำให้สอดคล้องกลมกลืนกับผ้านั้น จนราวกับผ้ามีชีวิต ชีวิตเราเป็นผ้า ผ้าและเราเป็นหนึ่งเดียวกัน

๒)   รำปะคำสองมือประสาน
ผู้ฝึกจะใช้ปะคำคล้องสองมือไว้ด้วยกัน ในการร่ายรำโดยใช้ ปะคำ นี้เพื่อเป็นเครื่องแสดงสภาวธรรม ความเปลี่ยนแปลงในปะคำ โดยใช้สองมือประสานกันไป หากสองมือขาดการประสานที่ดี แยกไปคนละทาง จะดึงรั้งจนปะคำขาดกลางได้

๓)   รำปะคำธรรมจักร (สองมือขัดแย้ง)
ผู้ฝึกจะใช้ปะคำหมุนอยู่ตลอดเวลาในแขนข้างใดข้างหนึ่ง มืออีกข้างจะร่ายรำไปคนละแบบ แบบนี้เป็นการฝึกสองมือขัดแย้ง โดยที่ต้องประคองให้ปะคำอีกข้าง ยังคงหมุนได้อย่างต่อเนื่อง (ฝึกปราณธรรมจักร) ปะคำจะเป็นเครื่องแสดงสภาวธรรม หากผู้รำขาดสติ จะถูกปะคำฟาดตัว หากขาดสมาธิปะคำจะหยุดหมุน จึงต้องมีสมาธิในการหมุนปะคำอยู่ตลอด และมีสติในการระวังปะคำที่หมุนนั้น ผู้ฝึกต้องฝึกจนคล่องให้ปะคำและตนประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ปะคำมีชีวิตหมุนไม่หยุดนิ่ง และคนไม่ขัดแย้งกับปะคำ

๔)   รำไทเก๊กในพงหญ้าและเถาวัลย์
ผู้ฝึกจะเลือกสถานที่ฝึกในป่า แล้วหาพื้นที่ป่าที่มีไม้เถาวัลย์ขึ้นระโยงรยางค์บางส่วน ไม้เถาวัลย์มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงในตัว ให้ผู้ฝึกหลับตาร่ายรำไทเก๊ก พร้อมกับเอาเถาวัลย์เป็นคู่ต่อสู้ ปรับสภาวะของตนตามเถาวัลย์ อาศัยความยืดหยุ่นของเถาวัลย์เป็นเครื่องสะท้อนแรงตนเอง เมื่อฝึกได้ดีแล้วให้ฝึกกับพงหญ้าต่อ อาศัยหญ้าที่ไม่มีอันตราย ใช้ไม้เป็นเครื่องสัมผัสกับหญ้า แล้วปรับสภาวะไม้กับหญ้าเป็นคู่ต่อสู้ประสานไปมา

๕)   รำไทเก๊กคู่ปะทะ
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ผู้ฝึกไทเก๊กด้วยกันเป็นคู่ซ้อม โดยให้ทั้งคู่เดินลมปราณแล้วหลับตาร่ายรำท่าไทเก๊ก ห้ามให้อีกฝ่ายตั้งท่ารอ เพื่อตนจะได้เลือกท่ารับ ให้ใช้จิตสัมผัสทั้งหมด ร่ายรำแบบมองไม่เห็นกัน แล้วปรับประสานสภาวะของตน พึงระวังไม่ให้ตนเองล้มลง

๖)   รำไทเก๊กเสาหลักหยั่งดิน
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งเสมือนถูกตอกลึกลงในพื้นดิน แล้วใช้ขาข้างที่เหลือ ในการเคลื่อนและหมุนไปรอบๆ ขณะที่มีการโคจรลมปราณและร่ายรำ สิ่งสำคัญคือห้ามเขยื้อนเท้าข้างที่เป็นเสมือนเสาหลักออกจากตำแหน่งเดิม ผู้ร่ายรำจะหมุนไปรอบๆ ด้วยท่าทางต่างๆ ตามกระบวนการโคจรลมปราณได้ตามปกติ (ขณะฝึกควรหลับตา)

๗) รำไทเก๊กสองเท้าสับสน (หมัดเมา)
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาทั้งสองข้างในการร่ายรำเป็นหลัก กระบวนท่าทั้งหมด จะพัฒนาจาก หมัดเมา ให้สองมือเสมือนถือจอกเหล้า โคจรลมปราณไปสู่แขนสองข้างราวกับงูเลื้อยไปมา แล้วปรับร่างกายให้เคลื่อนไปตามพลังปราณที่เคลื่อนไปสู่แขนข้างใดข้างหนึ่ง ดังนั้น จึงถือเอาแขนนำ แล้วขาตาม โดยไม่สนใจว่าขาทั้งสองข้างจะก้าวอย่างไร ทั้งนี้ให้โคจรลมปราณธรรมจักร หมุนรอบขาสองข้าง เพื่อให้ขาทั้งสองมีสมดุลในตัว

๘)   รำไทเก๊กเท้าพันชั่ง
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาทั้งสองข้างในการร่ายรำเป็นสำคัญ สองมือจะใช้การร่ายรำฝ่ามือ โคจรลมปราณธรรมจักรลงเท้าทั้งสองข้าง ราวกับขาทั้งสองข้างคือสว่านที่เจาะลงดิน ในการก้าวแต่ละครั้ง จะเสมือนก้าวลงตอไม้ หากเก้าผิดก็ร่วงลงจากตอไม้ การก้าวแต่ละครั้งจะลงน้ำหนักแรง คือ กระทืบเท้าค่อนข้างแรง แต่จะก้าวเท้าค่อนข้างช้า ในการก้าวเท้าแต่ละครั้ง จะดึงเท้าขึ้นใกล้เอว จากนั้น จึงส่งแรงจากท้องน้อยลงปลายเท้าด้วย

๙)  รำไทเก๊กฟันดาบ
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ขาทั้งสองข้างในการสืบเท้าไปข้างหน้าและถอยหลัง มือทั้งสองข้างจะถือดาบญี่ปุ่น หรือสมมุติว่าถือดาบญี่ปุ่นอยู่ มีการก้าวสืบเท้าแล้วแทงสลับกับการฟัน ในการฝึกนี้จะช่วยให้ผู้ฝึกไทเก๊กเข้าใจวิธีการต่อสู้ในแบบของดาบญี่ปุ่นได้ เข้าใจจังหวะการเข้าและถอย ซึ่งในผู้ใช้ดาบนั้น เป็นตายเกิดขึ้นได้ในพริบตา ในดาบเดียวเท่านั้น

๑๐) รำไทเก๊กกระบี่ดรุณี
ผู้ฝึกจะเลือกใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางพุ่งออกเสมือนกระบี่ ในการร่ายรำ เท้าทั้งสองข้างค่อนข้างจะทื่อตรง แขนทั้งสองข้างหมุนเป็นวงกลมต่อเนื่อง ประกอบด้วยท่าแทงและปัดเป็นสำคัญ สำหรับผู้ใช้กระบี่แล้ว จะแทงเป็นหลัก จะปัดเพื่อปกป้อง เป็นจุดแตกต่างจากผู้ใช้ดาบ กระบี่ดรุณีจะร่ายรำอ่อนช้อยเหมือนนางงามร่ายรำ สองมือเสมือถือกระบี่คู่ ประสานกระบี่คู่อย่างสอดคล้องกัน กระบี่แรกนำ กระบี่สองต้องตามติด เป็นหนึ่งเดียว

๑๑) รำไทเก๊กกงเล็บมังกร
ผู้ฝึกจะเลือกใช้ท่ากงเล็บแบบเส้าหลินในการร่ายรำ แต่โคจรพลังธรรมจักร จึงมีความอ่อนพลิ้วไหวจากภายใน ท่ากงเล็บมังกรจะใช้พลังค่อนข้างมาก ผู้ฝึกจะรู้สึกเหนื่อยกว่าท่าอื่นๆ กงเล็บจะงองุ้มสามนิ้วสำคัญ คือ นิ้วโป้ง, ชี้, กลาง อีกสองนิ้วที่เหลือจะไม่ใช้นัก จุดนี้จะแตกต่างจากกงเล็บกระดูกขาว และเป้าหมายจู่โจมจะไม่พุ่งไปที่ศีรษะ แต่มุ่งไปที่จุดอ่อนต่างๆ ของร่างกายแทน เช่น ลูกตา, ลูกกระเดือก, ข้อมือ (กรณีรับและปัดป้อง)

รูปแบบการร่ายรำไทเก๊กแบบต่างๆ ได้รับการพัฒนามาจากพื้นฐานของมวยสายอื่นๆ มาก่อน ปรมาจารย์ จางซานฟง ในอดีตได้เคยฝึกมวยเส้าหลิน ทั้งยังได้ปะลองฝีมือกับคู่แข่งมากมายในยุคนั้น จึงพัฒนาและปรับปรุงมวยสายอื่นๆ ให้เป็นแบบไทเก๊กเพื่อลดจุดอ่อน พัฒนาเป็นจุดแข็ง และกลายเป็นมวยไทเก๊กในแบบเฉพาะของตนเอง สิ่งที่สำคัญของไทเก๊กจึงไม่ใช่กระบวนท่าภายนอก แต่เป็นความหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติจากภายใน ไม่ว่าจะอาศัยกระบวนท่าจากมวยสำนักไหน ก็สามารถปรับเป็นไทเก๊กได้ทั้งหมด และยังทำให้มวยสายนั้นๆ พัฒนาจุดแข็งมากขึ้น ลดจุดอ่อนลงได้อีกด้วย ในบทความฉบับนี้ขอแนะนำเพียงย่อ ที่เหลือแล้วแต่พรสวรรค์ของผู้อ่านจะพึงฝึกเองเถิด

เคล็ดลับการฝึกกำลังภายในให้ได้ผล

๑)   การใช้คลื่นเสียงกระตุ้นกำลังภายใน
ในการฝึกแรกๆ ลมปราณยังตื่นไม่มาก ทำให้ยากต่อการจับการเคลื่อนไหวของลมปราณในร่างกาย ผู้ฝึกหากได้เครื่องช่วยกระตุ้นลมปราณ จะทำให้สามารถจับความเคลื่อนไหวของลมปราณได้ชัดเจนขึ้น เช่น ใช้ความเย็น, ใช้คลื่นเสียงกระตุ้น ในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้เสียงเพลงสวดมนต์ พร้อมเคาะระฆังเป็นจังหวะสม่ำเสมอ

๒)   การหลอมรวมเป็นหนึ่งกับธรรมชาติ
การฝึกลมปราณในขั้นสุดท้าย จะต้องปลดปล่อยลมปราณภายในออกมาสู่ธรรมชาติ และดึงลมปราณบริสุทธิ์จากธรรมชาติเข้าไปภายใน หลอมรวมกายจิตวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ไม่แยกจากกัน ทะลายเกราะร่างกายที่ปิดกั้นออกทั้งหมด จึงจะเปิดทะลวงชีพจรออกสู่ภายนอกได้ทั่วร่าง และรับพลังจากธรรมชาติได้สูงสุด

๓)   การผ่อนคลายร่างกายจิตใจเป็นอิสระ
การฝึกลมปราณจะไม่ได้ผลเลย หรือได้ผลช้ามาก หากมีความอยากได้, จดจ่อให้เกิด, จงใจให้เกิด, บังคับ, เร่งเกินไป, เคร่งครัดเกินไป, เกร็ง ฯลฯ อาการเหล่านี้ล้วนบั่นทอนการฝึกให้ลดลงอย่างยิ่ง ผู้ฝึกจำต้องผ่อนคลายร่างกายจิตใจ ปลดปล่อยความรู้สึกให้ไปสุดประมาณ เพื่อปลดปล่อยลมปราณให้ไหลเวียนสะดวกที่สุด

๔)   การรู้ความพอดีของกำลังภายในร่างกาย
ตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนลมปราณในร่างกาย จิตของผู้ฝึกต้องมีสติในการจับความเปลี่ยนแปลงของลมปราณแบบต่างๆ ในร่างกายตลอดเวลา พึงระวังว่าลมปราณที่มากเกินไปก็เป็นผลร้าย, คั่งค้างก็เป็นผลร้าย, ติดขัดก็เป็นผลร้าย ดังนั้น จำต้องรู้จักความพอดีของร่างกาย และลมปราณทั้งภายในและภายนอกที่หมุนเวียนเข้าออก

๕)   การรู้ความเข้ากันได้ของกำลังภายนอก
ในการดึงลมปราณภายนอกเข้ามาภายใน และถ่ายลมปราณภายในออกภายนอกนั้น จะเป็นการชำระล้างลมปราณเสียๆ ภายในร่างกาย แต่การรับเข้าก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน หากสิ่งที่รับเข้ามานั้นไม่ดีต่อร่างกาย, เป็นของเสีย, หรือเกินขนาด ดังนั้น จำต้องให้จิตรับรู้จดจำได้ว่าลมปราณแบบใดที่ควรดึงเข้าและแบบใดควรนำออก

๖)   ความว่างจากสิ่งเจือปนใดๆ ในจิตขณะฝึก
ในการฝึกลมปราณ ต้องไม่คิดเรื่องใดๆ ในหัวสมองต้องว่างโล่งโปร่งไปหมด ทิ้งหรือลืมเรื่องต่างๆ ไปชั่วคราว แล้วจดจ่ออยู่กับลมปราณขณะร่างกายเคลื่อนไหวเท่านั้น

๗) สมาธิจดจ่อความเคลื่อนไหวลมปราณในร่างกาย
ระหว่างการฝึกลมปราณ จิตต้องเพ่งอยู่กับลมปราณ ไม่ควรละสมาธิออกไปสู่เรื่องอื่น การปันสมาธิมีผลให้การฝึกไม่ได้อะไรเลยและการถูกรบกวนสมาธิทำให้ฝึกไม่ได้ผล

๘)   สติเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทุกขณะ
การฝึกลมปราณจำต้องมีสติมาก ละเอียด และสูงกว่าการฝึกอย่างอื่น สติของคนเราจะสูงที่สุดเมื่อถูกจู่โจมหรือความตายมาเยือน ดังนั้น ระหว่างการฝึกจะขาดสติไม่ได้

๙)  ปัญญาปรับสภาวะกาย-จิต-วิญญาณให้สมดุลกับธรรมชาติ
สิ่งนี้คือจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการฝึกลมปราณ หากฝึกลมปราณขัดแย้งกับธรรมชาติแล้ว เราจะถูกทำลายเอง พึงระลึกว่า ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ขอบคุณข้อมูลโดย physigmund_foid
จากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=227686

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คลื่นวิทยุสามารถทะลุเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ลึกประมาณ 1/10 ของความยาวคลื่นที่ตกกระทบ และอาจทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในบางชนิดได้ ผลการทำลายจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเข้ม ช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับคลื่นและชนิดของเนื้อเยื่อ อวัยวะที่มีความไวต่อคลื่นวิทยุ ได้แก่ นัยน์ตา ปอด ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ และบางส่วนของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะนัยน์ตา และอัณฑะ เป็นอวัยวะที่อ่อนแอที่สุดเมื่อได้รับคลื่นวิทยุช่วงไมโครเวฟ

ผลของคลื่นวิทยุที่มีต่อร่างกาย
 
คลื่นวิทยุสามารถทะลุเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ลึกประมาณ 1/10 ของความยาวคลื่นที่ตกกระทบ และอาจทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะภายในบางชนิดได้ ผลการทำลายจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเข้ม ช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับคลื่นและชนิดของเนื้อเยื่อ อวัยวะที่มีความไวต่อคลื่นวิทยุ ได้แก่ นัยน์ตา ปอด ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ และบางส่วนของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะนัยน์ตา และอัณฑะ เป็นอวัยวะที่อ่อนแอที่สุดเมื่อได้รับคลื่นวิทยุช่วงไมโครเวฟ
 
คลื่นวิทยุช่วงความถี่ต่าง ๆ อาจมีผลต่อร่างกายดังนี้
1. คลื่นวิทยุที่มีความถี่น้อยกว่า 150 เมกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นมากกว่า 2 เมตร) คลื่นจะทะลุผ่านร่างกายโดยไม่ก่อให้เกิดผลใด ๆ เนื่องจากไม่มีการดูดกลืนพลังงานของคลื่นไว้ ร่างกายจึงเปรียบเสมือนเป็นวัตถุโปร่งใสต่อคลื่นวิทยุช่วงนี้
 
2. คลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 150 เมกะเฮิรตซ์ ถึง 1.2 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นระหว่าง 2.00 ถึง 0.25 เมตร) คลื่นวิทยุช่วงนี้สามารถทะลุผ่านเข้าไปในร่างกายได้ลึกประมาณ 2.5 ถึง 20 เซนติเมตร เนื้อเยื่อของอวัยวะภายในบริเวณนั้นจะดูดกลืนพลังงานของคลื่นไว้ถึงร้อยละ 40 ของพลังงานที่ตกกระทบ ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในเนื้อเยื่อ โดยที่ร่างกายไม่สามารถรู้สึกได้ ถ้าร่างกายไม่สามารถกระจายความร้อนออกไปในอัตราเท่ากับที่รับเข้ามา อุณหภูมิหรือระดับความร้อนของร่างกายจะสูงขึ้น เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อร่างกาย ความร้อนในร่างกายที่สูงกว่าระดับปกติอาจก่อให้เกิดผลหลายประการ เช่
- เลือดจะแข็งตัวช้ากว่าปกติ ผลอันนี้ถ้ามีการเสียเลือดเกิดขึ้น อาการจะมีความรุนแรง
- การหมุนเวียนของเลือดเร็วขึ้น
- ฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงจะมีความจุออกซิเจนลดลง ทำให้เลือดมีออกซิเจนไม่เพียงพอเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ เมื่อเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนจะทำให้เซลล์สมอง ระบบประสาทส่วนกลางและอวัยวะภายในขาดออกซิเจนด้วย อาจทำให้มีการกระตุกของกล้ามเนื้อจนถึงชัก ถ้าสภาพเช่นนี้ดำเนินต่อไป ผลที่ตามมาก็คือ ไม่รู้สึกตัวและอาจเสียชีวิตได้
 
3. คลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 1-3 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นระหว่าง 30 ถึง 10 เซนติเมตร) ทั้งผิวหนังและเนื้อเยื่อลึกลงไปดูดกลืนพลังงานได้ราวร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 100 ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อ คลื่นวิทยุเช่นนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อนัยน์ตา โดยเฉพาะเลนส์ตาจะมีความไวเป็นพิเศษต่อคลื่นวิทยุความถี่ประมาณ 3 จิกะเฮิรตซ์ เพราะเลนส์ตามีความแตกต่างจากอวัยวะอื่นตรงที่ไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงและไม่มีกลไกซ่อมเซลล์ ดังนั้นเมื่อนัยน์ตาได้รับคลื่นอย่างต่อเนื่องจะทำให้ของเหลวภายในตามีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยไม่สามารถถ่ายโอนความร้อน  เพื่อให้อุณหภูมิลดลงได้เหมือนเนื้อเยื่อของอวัยวะอื่น ๆ จึงจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงตามมา พบว่าถ้าอุณหภูมิของตาสูงขึ้นเซลล์เลนส์ตาบางส่วนอาจถูกทำลายอย่างช้า ๆ ทำให้ความโปร่งแสงของเลนส์ตาลดลง ตาจะขุ่นลงเรื่อย ๆ ในที่สุดจะเกิดเป็นต้อกระจก สายตาผิดปกติ และสุดท้ายอาจมองไม่เห็น
 
4. คลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 3-10 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นระหว่าง 10 ถึง 3 เซนติเมตร) ผิวหนังชั้นบนสามารถดูดกลืนพลังงานมากที่สุด เราจะรู้สึกว่าเหมือนกับถูกแสงอาทิตย์
 
5. คลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่า 10 จิกะเฮิรตซ์ (มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 3 เซนติเมตร) ผิวหนังจะสะท้อนให้กลับออกไป โดยมีการดูดกลืนพลังงานเล็กน้อย
 
ผลของคลื่นวิทยุต่อร่างกายโดยสรุป แสดงในตาราง 2

 
ตาราง 2 ผลของคลื่นวิทยุต่อร่างกาย
ความถี่ความยาวคลื่น (m)บริเวณสำคัญ
ที่อาจเกิดอันตราย
ผลที่เกิดขึ้น
น้อยกว่า 150 MHzมากกว่า 2.00-ทะลุผ่านร่างกายโดยไม่มีการดูดกลืน
150 MHz - 1.2 GHz2.00-0.25อวัยวะในร่างกายเกิดความร้อนบริเวณใต้ผิวหนัง และอวัยวะภายใน
1-3 GHz0.30-0.10เลนส์ตาเป็นอันตรายต่อเลนส์ตาทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
3-10 GHz0.10-0.03เลนส์ตาและผิวหนังรู้สึกร้อนที่ผิวหนัง เหมือนถูกแสงอาทิตย์
มากกว่า 10 GHzน้อยกว่า 0.03ผิวหนังสะท้อนที่ผิวหนัง หรือถูกดูดกลืนน้อยมาก

 
เคยมีรายงานทางการแพทย์เมื่อ พ.ศ. 2495 ว่ามีผู้ป่วยเป็นต้อกระจกจากไมโครเวฟ ผู้ป่วยเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคทำงานเป็นเวลา 1 ปี ในบริเวณที่มีเครื่องกำเนิดไมโครเวฟความถี่ 1.5-3 จิกะเฮิรตซ์ ที่ระดับความเข้ม 100 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร
 
ในการทดลองกับสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองฉายคลื่นวิทยุช่วงไมโครเวฟความเข้ม 100 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ไปที่ตาของกระต่าย พบว่าใน 1 ชั่วโมงต่อมา ของเหลวภายในลูกกระตากระต่ายมีอุณหภูมิสูงถึง 43 องศงเซลเซียส อีก 1 สัปดาห์ต่อมากระต่ายตัวนั้นตาบอด ส่วนในการทดลองกับหนูตัวผู้จำนวน 200 ตัว โดยให้หนูไปอยู่ใกล้เรดาร์ เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งพบว่าหนูร้อยละ 40 เป็นหมัน เนื่องจากเนื้อเยื่อของอัณฑะถูกทำลาย และหนูอีกร้อยละ 35 เซลล์เม็ดเลือดแดงจะพัฒนาเป็นมะเร็งต่อไป
http://www.eschool.su.ac.th/school12/M4_2546/4-3/3_008/Title%203.htm

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นาฬิกาชีวิต

การทำงานของร่างกายและเวลาในแต่ละวัน

01.00-03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ

ควรนอนหลับพักผ่อน ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีลาโทนิน(Meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งสารมีลาโทนินเป็นประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (Endrophin) ออกมาด้วย จึงไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับคือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รองคือ

1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บ จะไม่สวย

2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อยๆ จะทำให้ตับทำงานหนัก ตับจะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทำหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ


03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด

จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจำ ปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว


05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่

ควรขับถ่ายอุจจาระ ทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่าย หรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่า แขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง


07.00-09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะอาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย


09.00-11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม

ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างน้ำเหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อย มักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครง สาเหตุมาจากม้ามกับตับ



  • ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย


  • ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไป จะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย

ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00-11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูโบ่อยๆ หรือพูดเก่งๆ ม้ามจะชื้น จึงควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามจึงแข็งแรง

11.00-13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ

หัวใจทำงานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ต้องทำให้ใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้

13.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก

จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภท เพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วิตามินซี บี โปรตีน เพื่อสร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนมีน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลำไส้ยาวกว่าผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้การดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโนมากกว่าผู้ชาย เมื่อมีลำไส้ยาวกว่าจึงมีกระดูกซี่โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ 1 ซี่

15.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ

แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะ เริ่มจาก หัวตา-->ผ่านหน้าผาก-->ศรีษะ-->ท้ายทอย-->แผ่นหลังทั้งแผ่น-->สะโพก-->ด้านหลังขา-->หัวเข่า-->น่อง-->ส้นเท้า-->นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด

ช่วงเวลานี้ จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจจะออกกำลังกายหรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง ข้อควรระวัง ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามาก ไตจะวาย แต่ถ้ามีโปตัสเซียมปนออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขเรื่องหัวใจวายด้วย การให้ดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาว เพื่อเติมโปตัสเซียม (ผู้ที่มีโปตัสเซียมน้อยต้องระวังเรื่องการฉีดยาชา) เพราะยาชาจะทำให้โปตัสเซียมลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจอาจวายได้ง่าย

การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ

17.00-19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต

จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอนในช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก


  • ไตซ้าย จะควบคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รัรกสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน

  • ไตขวา จะควบคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ที่มีไตแข็งแรงจะเป็นคนมีอายุยืน เป็นคนกล้า)

ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กไม่ได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ไตทำงานหนัก จึงกลายเป็นโรคไต ผู้ที่เป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ

การดูแล คือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นให้อาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรใส่สมุนไพรที่ถูกโฉลกของผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง

19.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ

ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูเยื่อหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้าชุดสีดำเทา เอาเท้าแช่ในน้ำอุ่น

21.00-23.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น

จึงห้ามอาบน้ำเย็นในช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่าไปตากลม เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ

23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี

ถุงน้ำดีเป็นถุงสำรองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ อวัยวะใดในร่างกายเมื่อขาดน้ำจะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว สายตาเสื่อม เหงือกจะบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้าจะจาม (ถุงน้ำดีจะโยงไปถึงปอด) จะปวดศรีษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่ทราบสาเหตุ (ผู้ที่ตัดถุงน้ำดีออก เมื่อตรวจด้วยลูกดิ่งจะพบว่า ถุงน้ำดีข้น มักมีอาการปวดขา ปวดสะโพก)

ทางแก้ คือ อย่าใส่ชุดนอนที่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ จะไปดูดน้ำในร่างกาย ควรสวมชุดผ้าฝ้ายดีที่สุด ไม่ควรนอนบนที่สูงๆ เพราะจะทำให้เสียน้ำในร่างกาย ดังนั้น ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน หรือก่อนเวลา 23.00 น.



วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อาหารจานปลา



ปลามี ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส (PHOSPHORUS)
ความสมดุล*ของ ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในร่างกายทำให้เกลือแร่ทุกอย่างปฎิบัติหน้าที่ได้ดีมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ฟอสฟอรัส จะพบในอาหารเกือบทุกชนิดอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในร่างกายทำให้เกลือแร่ทุกอย่างปฎิบัติหน้าที่ได้ดีมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ฟอสฟอรัส จะพบในอาหารเกือบทุกชนิดอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง
ความสมดุล*ของ ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในร่างกายทำให้เกลือแร่ทุกอย่างปฎิบัติหน้าที่ได้ดีมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ฟอสฟอรัส จะพบในอาหารเกือบทุกชนิดอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในร่างกายทำให้เกลือแร่ทุกอย่างปฎิบัติหน้าที่ได้ดีมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ฟอสฟอรัส จะพบในอาหารเกือบทุกชนิดอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง



หน้าที่ของ ฟอสฟอรัส ต่อร่างกาย

เป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ให้เป็นไปอย่างปกติ
ควบคุมการทำงานของไต
ช่วยให้วิตามิน บี ต่าง ๆ ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ,
เป็นปัจจัยสำคัญในการเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ,
เป็นส่วนที่จำเป็นของ นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein) ,
ส่งแรงกระตุ้นของประสาท ,เป็นส่วนประกอบของฟอสโฟลิปิด ,
มีความสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื้อ
การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
การเก็บและการให้พลังงานออกมา
ช่วยในการส่งสัญญาณของตัวกระตุ้นประสาท
ช่วยรักษาสุขภาพระบบประสาทให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ,
ช่วยควบคุม ความสมดุลของกรด และด่างในเลือด
ช่วยการดูดซึมของอาหารจากลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
ส่งเสริมการขับฮอร์โมนออก จากต่อม
กระตุ้นการคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อของหัวใจด้วย
วิตามิน บีสอง และบีสาม จะย่อยไม่ได้ถ้าปราศจาก ฟอสฟอรัส

*ความสมดุล (Balance) หมายถึงความเท่ากัน หรือภาวะที่เสมอกันเป็นการเท่ากัน ความสมดุล เป็นหลักในการออกแบบที่สำคัญยิ่งของการออกแบบ เพราะจะทำให้งานออกแบบนั้นออกมามีความสวยงาม น่าสนใจ มีความมั่นคงในภาพ และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การออกแบบให้มีความสมดุล จะต้องอาศัยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ภายในเพื่อประกอบกันอย่างมีสัดส่วน อาทิเช่น รูปร่าง ขนาดเส้น น้ำหนักทิศทาง สีและการตัดสิน หรือเสมอกันตามสภาพที่มองเห็นในขณะนั้น หรือการถ่วงเพื่อให้เกิดการการเท่ากัน หรือเสมอกันนั้นอาจจะมองกันในความรู้สึกในการรับรู้ขณะนั้น หรือจะเรียกว่าเป็นการสมดุลกันในทวงศิลปะก็ได้ ความสมดุล มี 2 แบบ 1. ความสมดุลที่สองข้างเท่ากัน(Formal Balance) ความสมดุลแบบนี้เป็นความสมดุลเท่ากันที่พบเห็นทั่วไปเป็นความสมดุลที่เท่ากัน ทั้งบนล่าง จะมีขนาดรูปร่าง และน้ำหนักที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนตัวอย่างเช่น 2. ความสมดุลที่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(InformalBalance)เป็นความสมดุลที่จัดให้ซ้ายขวาไม่เท่ากันไม่เหมือนกันมีการจัดวางให้ขนาดรูปร่าง สีให้มีความแตกต่างกันทั้งสองด้านแต่ถ้าหากมองในภาพรวมแล้วจะให้ความรู้สึกว่ามีความถ่วงหรือน้ำหนักเท่ากันเป็นความสมดุลในทางศิลปะปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก ในการจัดความสมดุลแบบนี้ก็มีข้อควรคำนึงดังนี้1. ความสมดุลที่สองข้างเท่ากัน(Formal Balance) ความสมดุลแบบนี้เป็นความสมดุลเท่ากันที่พบเห็นทั่วไปเป็นความสมดุลที่เท่ากัน ทั้งบนล่าง จะมีขนาดรูปร่าง และน้ำหนักที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนตัวอย่างเช่น 2. ความสมดุลที่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(InformalBalance)เป็นความสมดุลที่จัดให้ซ้ายขวาไม่เท่ากันไม่เหมือนกันมีการจัดวางให้ขนาดรูปร่าง สีให้มีความแตกต่างกันทั้งสองด้านแต่ถ้าหากมองในภาพรวมแล้วจะให้ความรู้สึกว่ามีความถ่วงหรือน้ำหนักเท่ากันเป็นความสมดุลในทางศิลปะปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก ในการจัดความสมดุลแบบนี้ก็มีข้อควรคำนึงดังนี้
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5

เมนูปลา <คลิ๊ก>

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


ในธรรมชาติจะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์หรือเกิดเองจากธรรมชาติ ซึ่งมีหลายความถี่ต่างกัน
มากมาย ช่วงความถี่ต่าง ๆ นี้เราจะเรียกว่า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นบางช่วงอาจจะมีความถี่เท่ากัน
แต่เรียกชื่อต่างกัน เป็นเพราะมาจากแหล่งกำเนิดต่างกัน ความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเท่ากับความเร็วของแสง
คือ 3 x 108 เมตร/วินาที ในปัจจุบันมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามากมายที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์และเกิดจาก
ธรรมชาติดังนี้
คลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในช่วง 106-109  Hz โดยคลื่นวิทยุจะแบ่งตามความถี่ในช่วง
ความถี่ต่างกัน ในการส่งสัญญาณคลื่นเราเรียกว่า กระบวนการโมดูเลท หรือ โมดูเลชั่น จากนั้นคลื่นดังกล่าวจะไปถึง
ปลายทางและมีการถอดสัญญาณ เราเรียกว่า ดีโมดูเลท หรือ ดีโมดูเลชั่น และการส่งสัญญาณแบบนี้จะมี 2 วิธีคือ

แอมปลิจูดโมดูเลชั่น หรือ ที่เราเรียกว่า AM (Amplitude Modulation) ความถี่จะอยู่ในช่วง 530 – 1600 KHz

ความถี่โมดูเลชั่น หรือที่เราเรียกว่า FM (Frequency Modulation) ความถี่จะอยู่ในช่วง 88 – 108 MHz

การกระจายคลื่นวิทยุ เราจะใช้เสาอากาศเป็นแหล่งในการกระจายคลื่นวิทยุออกไปในอากาศ ซึ่งเรียกว่าสถานีส่งและ
คลื่นส่งไปยังปลายทาง เราเรียกว่าสถานีรับ โดยการกระจายคลื่นมีหลายวิธีดังนี้

คลื่นส่งโดยตรง ส่วนมากใช้กับ FM จะส่งได้ไม่ไกลมาก

คลื่นสะท้อนพื้นโลก ไม่ค่อยนิยมใช้

คลื่นเหนือบรรยากาศ ส่วนมากใช้กับ AM จะส่งได้ไกล

คลื่นเหนือระดับพื้นโลก ใช้กับ AM และ FM

คลื่นโทรทัศน์ คลื่นโทรทัศน์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ประมาณ 108 Hz ซึ่งเป็นความถี่เดียวกับความถี่วิทยุความถี่ FM ซึ่งมีคุณสมบัติไม่สะท้อนชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แต่จะทะลุไปสู่นอกโลก การส่งคลื่นโทรทัศน์ไกลสุด 80 กิโลเมตร ดังนั้นหากเป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์เป็นระยะทางไกล ๆ มักจะส่งเป็นสัญญาณผ่านดาวเทียม

คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่นำมาใช้ประโยชน์หลายทาง ความถี่ของไมโครเวฟอยู่ที่ 109-1011 Hz
การนำไปใช้ประโยชน์เช่น
ด้านการสื่อสาร ใช้ในการสื่อสารผ่านสัญญาณดาวเทียม หรือ การติดต่อกับยานอวกาศที่อยู่นอกโลก
การใช้งานเรดาร์ คือ ใช้ในการตรวจจับวัตถุบนท้องฟ้า โดยอาศัยยิงคลื่นไมโครเวฟส่งขึ้นไปถ้าหากไปกระทบวัตถุจะส่งสัญญาณกลับลงมา
เตาไมโครเวฟในการทำอาหารให้สุกจะใช้ความถี่ประมาณ 2400 MHz โดยจะไปทำปฎิกิริยากับน้ำซึ่งอยู่ในอาหาร

รังสีอินฟาเรด เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในช่วง 1011-1014 Hz โดยปกติแล้วสิ่งมีชิวิตจะแผ่รังสีนี้ออกมาตลอดเวลา หรือเราเรียกว่า รังสีความร้อน รังสีนี้สามารถทะลุเมฆหมอกได้โดยมากเราจะใช้รังสีอินฟาเรดนี้ในการถ่ายภาพจับความร้อนจากนอกโลกได้ หรือใช้กล้องอินฟาเรดในการตรวจหาความร้อน นอกจากนี้ยังใช้ในการควบคุมระยะไกลหรือที่เรียกว่า รีโมทคอนโทรล

แสง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ประมาณ 1014 Hz สามารถรับรู้ด้วยประสาทตา แสงที่ประสาทตาสามารถ รับรู้ได้ คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว แดง เหลือง แสด และเมื่อ 7 สีนี้รวมกันจะกลายเป็นสีขาว

เลเซอร์ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีย่านความถี่ ตั้งแต่รังสีเอ็กซ์ รังสีอุลตราไวโอเลต แสงอินฟาเรด ที่เรานำมาใช้ ประโยชน์มากที่สุด คำว่าเลเซอร์(LASER) ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation หรือ การขยายสัญญาณแสงโดยการปล่อยรังสีแบบเร่งเร้า
เครื่องกำเนิดเลเซอร์ แบ่งได้ 4 ชนิดคือ
เลเซอร์แบบแก็ส ใช้แก็สเป็นตัวกลางของเลเซอร์
เลเซอร์แบบของแข็ง ใช้ของแข็งเป็นตัวกลางเลเซอร์ เช่น ผลึกทับทิม
เลเซอร์แบบของเหลว
เลเซอร์แบบสารกึ่งตัวนำ
การนำเลเซอร์ไปใช้ประโยชน์มากมาย เช่น หัวอ่าน CD การอ่านแถบรหัสสินค้า การสื่อสารเส้นใยนำแสง เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นต้น

รังสีอุลตราไวโอเลต เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าแสง โดยจะอยู่ในช่วง 1015-1018 Hz โดยจะมาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ รังสีนี้จะไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านทะลุสิ่งกีดขวางหนา ๆ ได้ แต่ก็สามารถทำให้เชื้อโรคบางชนิดตายได้ จึงนิยมใช้ในวงการแพทย์ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคผิวหนัง รังสีนี้ถ้าใช้ในปริมาณมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและนัยน์ตามนุษย์ได้ ในชั้นบรรยากาศรังสีนี้ถูกดูดกลืนเอาไว้บางส่วนแล้ว ดังนั้นส่วนที่ผ่านเข้ามายังโลกจึงเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต

รังสีเอ็กซ์ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อยู่ในช่วง 1016-1022 Hz รังสีนี้สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางหนา ๆได้ ดังนั้นเราจะใช้รังสีนี้ในการตรวจสอบสิ่งของต่าง ๆ ตรวจหาอาวุธ ในการแพทย์จะใช้รังสีนี้ผ่านเข้าไปในร่างกายมนุษย์ หรือการเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจสอบการผิดปกติของอวัยวะภายในหรือกระดูก

รังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่ารังสีเอ็กซ์ (เราจะเรียกคลื่นที่มีความถี่สูงกว่ารังสีเอ็กซ์ว่า รังสีแกมมาทั้งหมด) รังสีแกมมาเกิดจากการสลายตัวของของธาตุกัมมันตรังสี

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player