วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ชีวโมเลกุล

ชีวโมเลกุล

โดย น.พ. ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต
มนุษย์เราเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมจะต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย และต้องตายเป็นธรรมดา แต่กว่าจะตายหรือหมดอายุขัย บางทีเราต้องทนทุกข์ทรมาน กับการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ นานนับเดือนนับปี เพราะอวัยวะต่างๆ เสื่อมไปอย่างไม่ย้อนคืน

เป็นเวลานานมาแล้ว ที่เราพยายามต่อสู้กับความแก่และความเจ็บป่วยแม้จะรู้ว่าในที่สุดต้องพ่ายแพ้ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพสักหน่อย ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานมากจนเกินไปนัก

ร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมายมหาศาล เซลล์ต่างๆ มาประกอบกันเป็นอวัยวะ แล้วทำหน้าที่ต่างๆ กัน เมื่อคนอายุมากขึ้น เซลล์ก็จะค่อยๆ เสื่อมลงไป เซลล์เหล่านี้บางส่วนก็ตายไปบ้าง ในขณะที่ส่วนใหญ่ยังไม่ตาย แต่ไม่สามารถทำงานได้ เปรียบกับแบตเตอรี่รถยนต์ที่น้ำกรดแห้ง ก็จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อมีเซลล์ที่เสื่อมและหยุดทำงานมากขึ้น ก็ก่อให้เกิดอาการของโรคต่างๆ

นอกจากความเสื่อมของเซลล์ตามปกติแล้ว สิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน เช่น น้ำ อาหาร อากาศ ก็ล้วนเต็มไปด้วยสารพิษมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อเซลล์อย่างมาก ทำให้เซลล์ของร่างกายเสียหายเพิ่มขึ้น การใช้ยารักษาโรคที่มีอยู่ เป็นการแก้ไขปลายเหตุเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรคเบาหวาน ใช้ยาไปลดน้ำตาลในเลือด แต่ยังไม่มียาหรือสารใดที่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า สามารถซ่อมแซมการทำงานของตับอ่อนและฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

เซลล์ซ่อมเซลล์
ความหวังของมนุษย์ในการฟื้นฟูเซลล์ มีหลักฐานความเป็นไปได้ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้ว เมื่อปี ค.ศ. 1931 ศ.นพ. พอล นีฮาน ศัลยแพทย์ชาวสวิส ได้เอาน้ำที่ได้จากการบดเซลล์ต่อมพาราไทรอยด์จากสัตว์ ฉีดเข้าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง เนื่องจากถูกตัดต่อมพาราไทรอยด์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ครั้งก่อน ปรากฏว่าผู้ป่วยหายจากโรคชักเกร็งได้ และไม่มีการแพ้ใดๆ จากการติดตามผู้ป่วยไปอีก 25 ปีหลังจากนั้น เขาเรียกการรักษาชนิดนี้ว่า Live Cell Therapy

หลังจากนั้น แพทย์ในยุโรปโดยเฉพาะเยอรมันก็ได้พัฒนา Live Cell Therapy หรือการปลูกถ่ายเซลล์สด จนแพร่หลาย มีการค้นพบว่า น้ำที่ได้จากการบดเซลล์หนึ่ง จะไปซ่อมแซมเซลล์ชนิดเดียวกัน เช่นเซลล์ตับก็จะไปซ่อมแซมที่ตับ ทฤษฎีนี้เรียกว่า Cell Heal Cell กลายเป็นเรื่องที่ฮือฮากันอย่างมากในหมู่บุคคลชั้นสูง เนื่องจากค่าใช้จ่ายการรักษาค่อนข้างแพง แพทย์ประสบผลสำเร็จในการรักษาโรคที่สิ้นหวังแล้ว

ชื่อเสียงของ Live Cell Therapy โด่งดังมากในยุโรป เมื่อนายแพทย์พอลล์ นีฮาน ตัดสินใจรับรักษาสันตะปาปา Pius ที่ 12 ซึ่งป่วยหนัก หมดหนทางรักษา แพทย์หลวงทั้งหลายลงความเห็นว่า ท่านจะมีพระชนม์ชีพอยู่ต่อไปอีกไม่นาน การตัดสินใจรับรักษาท่านสันตะปาปาครั้งนั้น นับว่ามีความเสี่ยงมาก และสร้างความหนักใจให้กับนายแพทย์พอลล์ นีฮานไม่น้อย ทั้งจากพระอาการที่เพียบหนัก และจากคณะแพทย์หลวงที่จ้องซ้ำเติมท่านทันทีหากพระอาการไม่ดีขึ้น แน่นอนหากว่าไม่เป็นไปตามคาด ก็คงจะถึงจุดจบของ Live Cell Therapy ที่ท่านทุ่มเทศึกษาค้นคว้ามาตลอดชีวิต ครั้งนั้นหลังจากนายแพทย์นีฮาน เดินทางไปรักษาพระสันตปาปาที่กรุงโรม ประมาณ 1 เดือน สันตะปาปาปิอัสที่12 ก็กลับฟื้นขึ้นมาและมีสุขภาพแข็งแรงได้อย่างปาฏิหาริย์

ในยุคนั้นคนดังอย่าง ชาลี แชปปลิ้น, ประธานาธิบดี คอนราด อาดีนาว แห่งเยอรมัน, ประธานาธิบดีวินสตัน เชอร์ชิลแห่งอเมริกา, นายพลชาลล์ เดอ โกล แห่งฝรั่งเศส, ดไวท์ ไอเซนฮาว, สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น, กษัตริย์โมรอคโค, กษัตริย์ซาอุดิอาราเบีย, กษัตริย์เยเมน ฯลฯ ล้วนเป็นบุคคลที่เข้ารับการรักษาด้วย Live Cell Therapy ในเยอรมันมาแล้วทั้งสิ้น

ชีวโมเลกุลความหวังในการซ่อมแซมเซลล์
จนกระทั่งแพทย์ชาวเยอรมัน คือ นายแพทย์คาลล์ ทอยเรอร์ ตั้งสมมุติฐานว่าความสำเร็จของ Live Cell Therapy ไม่ได้เกิดจากการฉีดเซลล์ที่ยังมีชีวิตทั้งเซลล์ แต่น่าจะเกิดจากโปรตีนที่อยู่ภายในเซลล์ที่ยังคงลักษณะทางชีวภาพไว้ได้ (Bioavailability) นายแพทย์คาลล์ประสบความสำเร็จในการแยกสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ออก ด้วยวิธีการที่สามารถคงลักษณะชีวภาพได้สมบูรณ์ โดยใช้กรดย่อยผนังเซลล์ภายใต้ความเย็นสูง แล้วแยกนิวเคลียสของเซลล์ออก สกัดเฉพาะไซโตพลาสซึ่มเก็บภายใต้ภาวะสุญญากาศ วิธีการดังกล่าวได้รับการจดสิทธิบัตรในเวลาต่อมา

ชีวโมเลกุลที่สกัดได้จะมีคุณสมบัติซ่อมแซมเซลล์แบบจำเพาะเจาะจง เช่น ชีวโมเลกุลจากเซลล์ตับของสัตว์ ก็ซ่อมแซมเซลล์ตับในร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ ขบวนการดังกล่าวยังทำให้เอกลักษณ์ของเซลล์ที่เรียกว่า HLA ซึ่งอยู่บนผนังเซลล์ถูกลบไป จึงไม่มีการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันปราศจากการแพ้โดยสิ้นเชิง

ความสำเร็จของนายแพทย์คาลล์ กลายมาเป็นความหวังสำหรับคนธรรมดาที่แม้ไม่ได้เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเงินทองมากมาย ก็สามารถเข้าถึงการรักษาที่ได้ผลอัศจรรย์นี้ได้ และรัฐบาลเยอรมันก็ได้ขึ้นทะเบียนยาที่ทำจากชีวโมเลกุลจำนวน 100 ตำรับเมื่อประมาณปีค.ศ. 1950 และใช้รักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ทุกชนิดอย่างได้ผลมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ความจริงเกี่ยวกับการแพทย์ชีวโมเลกุล
ในห้วงอายุของมนุษย์ โดยทั่วไปเซลล์ต่างๆ จะแบ่งตัวชดเชยการสึกหรอประมาณ 50-60 ครั้ง จากการศึกษาพบว่า ชีวโมเลกุล ช่วยให้เซลล์แบ่งตัวได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4-6 ครั้ง ซึ่งเท่ากับว่าทำให้ช่วงอายุของคนยืนยาวขึ้นนั่นเอง

การทำงานของเซลล์ต่างๆ มีหัวใจหลักคือการสร้างโปรตีน แล้วโปรตีนที่ได้ก็ไปทำหน้าที่ต่างๆ เช่น เป็นน้ำย่อย เป็นฮอร์โมน เป็นเนื้อเยื้อต่างๆ ฯลฯ การสร้างโปรตีนในเซลล์จะคล้ายกับการปั้มตรายาง เมื่อใช้ไปนานๆ เข้า น้ำหมึกเริ่มแห้ง ตรายางเริ่มสึก คุณภาพของการปั้มก็จะเสียไป ชีวโมเลกุล จะไปซ่อมแซมเซลล์ดุจการซ่อมตรายาง และเติมน้ำหมึก ทำให้คุณภาพการปั้มดีขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การแพทย์ชีวโมเลกุล สามารถช่วยกำจัดเซลล์ผิดปกติ ตลอดจนคำสั่งที่ผิดพลาดต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็ง จึงใช้เป็นทั้งการป้องกัน และรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด

ปัจจุบันมีแพทย์ประมาณ 20,000 คนในยุโรปโดยเฉพาะเยอรมัน ใช้ การแพทย์ชีวโมเลกุล ในการรักษาผู้ป่วย และมีประเทศที่ให้การรับรองการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วทั่วโลก จำนวน 48 ประเทศ มีผู้ป่วยที่รับการรักษาแล้วประมาณ 150 ล้านคน

โรคที่ได้รับการระบุว่า สามารถรักษาได้ด้วยการแพทย์ชีวโมเลกุล คือ โรคความเสื่อมทุกประเภท โรคหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ภูมิแพ้ รูมาตอยด์ กระดูกเสื่อม ข้อเสื่อม ไตวาย หัวใจล้มเหลว เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทอง ความพิการทางสมอง ระบบประสาทถูกทำลาย โรคเครียด โรคตับ โรคสมองเติบโตช้าในเด็ก ปัญญาอ่อน โรคเลือด โรคเหงือกและฟัน โรคของตับ อ่อน ต้อหิน ต้อกระจก ภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันไวเกิน โรคหู โรคตา โรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ภาวะมีบุตรยาก โรคผิวหนัง สิวหัวช้าง โรคเส้นเลือดตีบ โรคพาร์กินสัน โรคแผลกระเพาะอาหาร เป็นต้น

มีสถิติที่น่าสนใจคือ โรคเรื้อรังต่างๆ ที่แพทย์ระบุว่าสิ้นหวังแล้ว สามารถทำให้ผู้ป่วยกระเตื้องขึ้น หรือหายจากโรคได้สำเร็จถึง 68 %

จุดเด่นของการรักษาด้วยชีวโมเลกุล คือ
  • ใช้รักษาโรคที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว ดังที่นายแพทย์คาลล์กล่าวไว้ว่า เป็นการ “ให้ความหวัง สำหรับผู้ที่สิ้นหวังแล้ว” (offer new hope for the hopeless)
     
  • ไม่มีการแพ้ ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ใช้ได้แม้กระทั่งในเด็กทารก
     
  • เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่รักษาที่อาการ ยกตัวอย่างในโรคเบาหวานชนิดที่ต้องใช้อินซูลิน ความผิดปกติอยู่ที่ Islet of Langerhans แพทย์ปัจจุบันใช้อินซูลินจากภายนอกเข้าไปชดเชย ซึ่งต้องใช้ไปตลอดชีวิต ส่วนการแพทย์ชีวโมเลกุล ใช้สารชีวโมเลกุลจากตับอ่อนเข้าไปซ่อมเซลล์ตับอ่อน
     
  • เป็นการรักษาโดยการฟื้นฟูร่างกายทั้งระบบ การเจ็บป่วยของมนุษย์ไม่ได้เกิดเป็นอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แต่มักจะเชื่อมโยงกันทั้งระบบ การรักษาที่ได้ผลจึงเน้นการรักษาทั้งร่างกายแบบองค์รวม
     
  • ทำให้มนุษย์มีอายุขัยยืนยาวขึ้น และทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีตามสมควร GIVE LIFE MORE YEAR AND GIVE YEAR MORE LIFE
ทำไมการแพทย์ชีวโมเลกุลจึงไม่แพร่หลาย
ความจริงการแพทย์ชีวโมเลกุลแพร่หลายในยุโรปมานาน แต่ความรู้นี้จำกัดเฉพาะในยุโรปที่พูดภาษาเยอรมัน ต้องยอมรับกันว่าประเทศที่มีบทบาทและทรงอิทธิพลในวงการแพทย์ทั่วโลกคือ อเมริกา ตราบใดที่อเมริกายังไม่รู้จักวิธีการรักษาอย่างนี้ ตราบนั้นก็เป็นการยากที่วงการแพทย์ทั่วๆ ไปจะเข้าใจและยอมรับ

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีหลักฐานมากขึ้นในประเทศอเมริกาและประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ ในความพยายามที่ใกล้เคียงกัน และเป็นการสนับสนุนทฤษฎีเซลล์ซ่อมเซลล์

เมื่อปีค.ศ. 1999 กุนเธอร์ โบเบล ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ในการที่เขาพิสูจน์ว่า โปรตีนของเซลล์ มีรหัสที่ใช้ระบุว่า จะเดินทางไปยังจุดหมายที่ไหน เพื่อทำงานที่จำเพาะเจาะจง

และล่าสุดนี้ นิตยสาร Nature ฉบับวันที่ 5 เดือนเมษายน 2001 ตีพิมพ์ผลงานวิจัยของแพทย์จาก New York Medical College สหรัฐอเมริกา แพทย์ทำการทดลองในหนู โดยการผูกเส้นเลือดหัวใจของหนู กระตุ้นให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย จากนั้นนำเซลล์ต้นตอ (Stem cell) จากไขสันหลังของหนูอีกตัวหนึ่ง ฉีดเข้าไปตรงกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายไปแล้ว ผลปรากฎว่า เกิดการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจใหม่ ทดแทนเซลล์ส่วนที่ตายไปแล้ว ได้ถึง 68% ภายใน 9 วัน นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังสัญญาว่า การพัฒนาความรู้นี้เพื่อเป็นยารักษาโรค จะเป็นไปได้ อีกภายในเพียง 3 ปีข้างหน้านี้เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อยากจะกล่าวในที่นี้ว่า เป็นการดีที่อเมริกากำลังพัฒนาความรู้ด้านนี้ขึ้น เพราะในที่สุดจะมีผลให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง แม้ว่าความจริงแล้วแพทย์เยอรมันได้พัฒนาความรู้นี้มาก่อนหน้าถึงเกือบ 50 ปี จนผลิตยารักษาโรคที่ใช้ทฤษฎีนี้ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่สิ้นหวังมาแล้วนับล้านๆ คน
 http://www.baanjomyut.com/library_2/molecular_biology/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น