วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

สมดุลของร่างกาย


โภชนาการที่สมดุล






ระบบขับถ่าย



กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือให้ผลที่ร่างกายต้องการแล้ว ยังมีสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งรวมเรียกว่าของเสีย เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย ของเสียที่ร่างกายกำจัดออกมานั้นมีทั้งสารที่เป็นพิษตอร่างกาย และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่มีปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายจึงขับออกสู่ภายนอก ของเสียเหล่านี้มีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ของเสียที่เป็นของแข็งร่างกายจะกำจัดออกทางทวารหนักในรูปของอุจจาระ ส่วนของเสียที่เป็นแก๊ส ร่างกายจะกำจัดออกมากับลมหายใจออก สำหรับของเสียที่เป็นของเหลวร่างกายมีกลไกในการกำจัดอยู่ 2 ทาง คือ การกำจัดของเสียทางไต และ การกำจัดของเสียทางผิวหนัง
การกำจัดของเสียทางไต
    ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆภายในเซลล์จะถูกกำจัดออกจากเซลล์ โดยการแพร่เข้าสู่หลอดเลือด จากนั้นเลือดจะลำเลียงของเสียต่างๆยังไต เพื่อผ่านกระบวนการกำจัดของเสียออกจากเลือด
    ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ค้ายเครื่องกรอง โดยจะกรองของเสียออกจากเลือด มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วดำและจะมีอยู่ 2 ข้าง โดยติดอยู่ทางด้านหลังของช่องท้อง ขนาดโดยประมาณของไต คือ กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร เมื่อผ่าไตออกเป็น 2 ซีกพบว่าภายในไตประกอบด้วยหน่วยไต เล็กๆจำนวนมาก มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่ และมีหลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกกระจายอยู่เต็มไปหมด บริเวณตรงกลางไตที่เว้าบุ๋มลึกลงไป เรียกว่ากรวยไต และมีหลอดไตต่อเชื่อม ซึ่งหลอดไตนี้จะมีลักษณะเป็นท่อยาวจากกรวยไตไปจนถึงกระเพาะปัสสาวะ



การทำงานของไต

     หลอดเลือดที่นำเลือดมายังไตเป็นหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ ซึ่งจะลำเลียงทั้งสารที่มีประโยชน์และของเสียที่ต้องการกำจัดออก สารต่างๆที่เลือดลำเลียงมาจะถูกส่งเข้าสู่หน่วยไตโดยผ่านไปตามหลอดเลือดฝอย เพื่อให้หน่วยไตทำหน้าที่กรองสารที่อยู่ในเลือดก่อน ข้อมูลจากการทดลองพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงและสารจำพวกโปรตีนบางชนิด เช่น เฮโมโกลบิน ไม่สามารถผ่านเข้าสู่หน่วยไตได้ สำหรับสารบางจำพวก เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโน และของเสียอื่นๆ จะผ่านเข้าสู่หน่วยไตได้และจะไหลเข้าไปตามท่อของหน่วยไต
    แร่ธาตุและสารบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่นั้น เมื่อผ่านไปตามท่อของหน่วยไตจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับคืนเข้าสู่หลอดเลือดฝอยใหม่ ส่วนของเสียอื่นๆนั้น ซึ่งจะรวมเรียกว่า น้ำปัสสาวะ จะถูกส่งผ่านไปตามหลอดไตและเข้าสู่กระเพาะปัสสาะต่อไป จากนั้นจึงถูกขับออกจากร่างกายในรูปของของเหลว คือ น้ำปัสสาวะนั่นเอง
    โดยปกติน้ำตาลกลูโคสเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอยหมด แต่ถ้ากรณีที่มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดมากเกินไปหน่วยไตจะไม่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสกลับจนหมด และ จะปล่อยออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าในน้ำปัสสวะมีอนุภาคของน้ำตาลกลูโคสมากผิดปกติ แสดงว่าบุคคลผู้นั้นกำลังมีอาการของโรคเบาหวาน
    กระเพาะปัสสาวะปกติมีความจุได้ประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกอยากปัสสาวะ


การกำจัดของเสียทางผิวหนัง

    ของเสียที่มีสถานะของเหลวนอกจากจะถูกขับออกจากร่างกายในรูปน้ำปัสสาวะที่ผ่านทาไตแล้วยังมีของเสียในสถานะของเหลวอีกส่วนหนึ่งถูกขับออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ ซึ่งผ่านทางผิวหนัง ผิวหนังนอกจากจะทำหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อแล้ว ยังมีส่วนระบายความร้อนให้แก่ร่างกายเพื่อขับเหงื่อออกสู่ภายนอก โดยปกติความร้อนที่เสียไปทางผิวหนังจะมีปริมาณ 87.4 %
    เหงื่อที่ร่างกายขับออกมานั้นประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ และจะมีเกลือบางชนิดถูกขับปนออกมาด้วย จึงทำให้เหงื่อมีรสเค็ม สำหรับเงื่อได้ถูกสร้างขึ้นที่บริเวณของต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย

      โครงสร้างภายในของต่อมเหงื่อจะมีลักษณะเป็นท่อขดอยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงโดยรอบ โดยหลอดเลือดฝอยเหล่านี้จะลำเลียงเอาของเสียที่ต้องการกำจัดออกจากร่างกายทางผิวหนังมายังบริเวณต่อมเหงื่อ
    ของเสียที่ถูกลำเลียงมากับเลือด เมื่อมาถึงบริเวณต่อมเหงื่อแล้วของเสียจะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ท่อในต่อเหงื่อ จากนั้นของเสียจะถูกลำเลียงไปตามท่อ โดยจะเปิดอยู่บริเวณผิวหนังด้านบน

ฺฺิฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺฺ
การกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่
    หลังจากการย่อยอาหารเสร็จสิ้นลง อาหารส่วนที่เหลือและส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้จะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางลำไส้ใหญ่ (ทวารหนัก ) ในรูปที่รวมเรียกว่า อุจจาระ 
    อาหารท้องผูก จะเกิดจากการที่มีอุจจาระตกค้างอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่นานเกินไป ผนังของลำไส้ใหญ่ดูดซึมเอาน้ำที่ปะปนอยู่ในอุจจาระออกทำให้เกิดความยากลำบากในการขับถ่าย  ผู้ที่มีอาการท้องผูกจะรู้สึกแน่นท้อง อึดอัด บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรือปวดหลังด้วย อาการต่างๆเหล่านี้จะหายไป เมื่อถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย ผู้ที่มีอาการท้องผู้กนานๆอาจเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวารได้  สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกมีอยู่หลายประการ เช่น รับประานอาหารที่มีกากน้อยเกินไป และ อาหารรสจัดเป็นประจำ ขับถ่ายไม่เป็นเวลา เกิดอาการเครียดอยู่บ่อยๆ สูบบุหรี่จัด หรือดื่มน้ำชา กาแฟมากเกินไป

การกำจัดของเสียทางปอด

 มนุษย์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์แม้จะไม่ได้รับอาหารเลยและจะอยู่ได้หลายวันในสภาวะขาดน้ำ แต่เมื่อใดที่ขาดอากาศ จะตายในเวลาไม่กี่นาที ออกซิเจนเป็นแก๊สที่พบทั่วไปในบรรยากาศและจำเป็นต่อเมตาบอลิซึมของเซลล ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน การหายใจนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากขบวนการเมตาบอลิซึมออกไปพร้อมกับไอน้ำ
    การแลกเปลี่ยนแก๊สนี้เกิดขึ้นที่ถุงลมขนาดเล็กจำนวนมากมายที่อยู่เกือบเต็มปอด ออกซิเจนที่เข้ามาในถุงลมจะเข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่อยู่รอบๆแล้วถูกนำไปในกระแสเลือด ส่งไปให็เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย ในทำนองเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ก็จะถูกส่งจากหลอดเลือดฝอยไปยังถุงลมและปล่อยออกไปจากปอด
:::::: ของเสียที่ถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปอด ได้แก่ น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจของเซลล์ต่างๆในร่างกาย


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.2-teen.com/community/forum.php?mod=viewthread&tid=25652


 ออกซิเจนเพียงพอและการดื่มน้ำ






สุขภาพจิตที่ดี






ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ิิิhttp://www.hiso.or.th/hiso/health_news/health_story3_10.php






ที่มา : http://www.elle.co.th/health-fitness-news.php

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น